คุณเคยปล่อยให้ผัก หรือผลไม้ขึ้นราในตู้เย็นเพราะว่าซื้อมามากเกิน หรือลืมกินก่อนที่จะเสียหรือไม่ และคุณรู้หรือไม่อาหารตามร้านค้า ร้านอาหาร แม้กระทั่ง ซุปเปอร์มาร์เก็ต ถ้าขายไม่หมดอาหารพวกนั้นจะถูกนำไปไว้ที่ไหน และอาหารที่คุณรับประทานในแต่ละมื้อหากกินไม่หมดจะถูกเอาไปเก็บไว้ที่ใด ซึ่งเศษอาหารทั้งหมดนี้กว่า 30-55 % จะถูกทิ้งให้เป็นขยะรอกำกำจัดโดยการฝังกลบ หรือ แลนฟิว ซึ่งมีมากถึง 76,000 ล้านตัน โดยใช้เงินงบประมาณในการกำจัด 3,000 ล้านบาท ซึ่งมากมายจนเทียบได้กับงบประมาณของโรงพยาบาลได้ถึง 5 โรงพยาบาลเลยที่เดี่ยว ซึ่งห่วงโซ่การผลิตอาหารก่อนจะมาถึงจานที่เราได้กิน และเหลือเพื่อทำลายนั้นมีต้นทุนมากมายดังนี้
ต้นทุนด้านผลิต
ในการผลิตอาหารไม่ว่าจะเป็นพื้ช หรือสัตว์นั้ ล้วนมีต้นทุน ไม่ว่าจะเป็น ดิน น้ำ พลังงาน หรือแรงงานการผลิต เริ่มตั้งแต่การเพาะปลูกการเลี้ยง การดูแล จนถึงขั้นตอนการเก็บเกี่ยวดูแล ซึ่งระหว่าขั้นตอนนี้อาหารก็จะมีบางส่วนที่ถูกทิ้งไม่ว่าจะเป็นเพราะ ไม่ได้ตามเกณฑ์ คุณภาพไม่ถึง หรือสูญเสียจากแมลงหรือศัตรูพืช หรือสัตว์ที่เป็นอาหารนั้นติดโรค
ต้นทุนทางด้านขนส่งและแปรรูป
เมื่อเกิดผลิตจากแหล่งปลูกหรือแหล่งที่ผลิตอาหารไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์นั้น ก่อนที่จะส่งถึงครัวของผู้บริโภคนั้นจะต้องผ่านการบวนการขนส่ง ซึ่งค่ามีต้นทุนด้านพลังงาน อาหารบางชนิดจะต้องมรการแชร์เย็นซึ่งจะมีต้นเพิ่มขึ้นในการขนส่งอีกด้วย และเมื่อส่งถึงครัวหรือสถานที่แปรรูปเพื่อส่งต่อให้ผู้บริโรค ก็จะเกิดต้นทุนการจัดการ แรงงาน และการจัดเก็บ ในขั้นตอนนี้อาหารก็จะเิดการสูญเสีย ไม่จะเสียจากการทับถมให้ช้ำ หรือจากการยืดอายุไม่สมบูรณ์จากปัญหาการแช่เย็นก็ตาม
ต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อม
ทุกกระบวนการตามห่วงโซ่ผลิตลิต ขนส่ง แปรรูป จนมาถึงการกำจัดนั้นแล้วแล้วแต่มีการสร้างของเสียให้กับสิ่งแวดล้อม คุณชื่อหรือไม่เศษอาหารที่รอการทำลายโดยการฝังกลบนั้นจะสร้างมลภาวะทางอากาศในเรื่องของกลิ่น และระหว่างเศษอาหารที่ทับถมกันอยู่นั้นจะเกิดการสร้างก๊าซมีเทน และคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นต้นเหตุให้เกิดสภาวะเรือนกระจกทำโลกร้อน
ทั้งหมดที่ได้กล่าวนี้เกิดขึ้นจากเศษอาหารที่เหลือจากความต้องการบริโภคของมนุษย์ที่ขาดสมดุลความต้องการจึงเป็นเหตุให้เกิด “Food Waste” ที่เป็นปัญหาที่ต้องมีการแก้ไขอย่างเร่งด่วนโดยเริ่มจากเรื่องเล็กจากตัวเราเองโดยเลือกบริโภคแค่จำเป็นก็ช่วยลดปัญหาเหล่านี้ได้แล้ว